smart
Energy

Smart Energy ปรับปรุงระบบจ่ายไฟฟ้าบนสถานีไฟฟ้าย่อย 2 สถานี ผ่านโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) โดยได้เริ่มนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินแล้ว เพื่อเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยด้านพลังงาน รวมถึงเป็นการช่วยปรับปรุงทัศนียภาพภายในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้เริ่มพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) พร้อมทั้งมีแผนการทดลองติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ในพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน ประกอบไปด้วยอาคารสถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) 2 สถานี คือ สถานีปทุมวัน และสถานีสามย่าน ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าในพื้นที่จะมีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

RENEWABLE ENERGY  

  • SOLAR ENERGY power generation 10.3 MW

ENERGY EFFICIENCY

  • Smart Meter
  • District Cooling 18,000 RT (2040)
  • LEED & TREEs Certificate for all Large Buildings

ENERGY STABILITY

SMART GRID

  • 100% Underground Cable
  • 2 Substations
  • Energy Storage System
Image
เมกะวัตต์
หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์
Image
เปอร์เซ็น
สายไฟฟ้าใต้ดิน (2566)
Image
ตันความเย็น
หอทำความเย็น (2567)

ระบบการผลิตพลังงานหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์ในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้พลังงานรูปแบบเดิม โดยเฉพาะการใช้พลังงานที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษภายในเมือง และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานภายในพื้นที่ได้ในระยะยาวด้วย

 

จัดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) โดยได้ออกแบบให้อาคารติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (PV Cell) บนชั้นดาดฟ้าของกลุ่มอาคารสูง (Rooftop Solar PV) เพื่อให้เกิดร่มพีวี (PV Shading) ที่ช่วงทั้งการผลิตไฟฟ้าและกันความร้อนบางส่วนเข้าสู่อาคาร นอกจากบนอาคาร ยังมีการติดตั้งโครงสร้างหลังคา solar เพื่อใช้ประโยชน์เป็นร่มเงาให้กับลานจอดรถอีกด้วย ปัจจุบันรวมพื้นที่ติดตั้งทั้งหมดสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 10.3 MW

ระบบความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling Plant) นั้น จะเป็นการรวมการผลิตความเย็นไว้ที่เดียว และจ่ายไอเย็นไปยังอาคารต่างๆ แทนการทำระบบปรับอากาศแยกในแต่ละอาคาร ส่งผลให้ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างและลดพื้นที่ ทำให้มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ และกำลังคนอีกด้วย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จึงมีแนวคิดที่จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ เพื่อเข้ามาบริหารจัดการระบบความเย็นแบบรวมศูนย์ของพื้นที่ส่วนพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะส่งจ่ายความเย็นให้แก่โครงการพัฒนาในพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน โดยมีขนาดการผลิต 18,000 RT ในปี 2583 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่ (Area Energy Management System : AEMS) ด้วย

การนำสายไฟและสายสื่อสารลงดิน

การพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบันในสภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้มีการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและจำนวนประชาชนในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีความต้องการใช้ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะความต้องการใช้ไฟฟ้าและระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการวางระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นการตั้งเสา เนื่องจากก่อสร้างและบำรุงรักษาง่าย รวมถึงราคาการก่อสร้างไม่สูงมากนัก ส่งผลให้สายไฟฟ้าและสายสื่อสารดูรกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ บดบังทัศนียภาพที่สวยงามของเมือง ประกอบกับกิ่งไม้ของต้นไม้ที่อยู่ในแนวเสาอาจทำให้เกิดความเสียหายและอันตรายได้ นอกจากส่งผลกระทบโดยตรงต่อภูมิทัศน์ของเมืองแล้ว เสาไฟยังกีดขวางเป็นเหตุให้ทางเท้าแคบกว่าขนาดมาตรฐาน ส่งผลต่อการใช้งานทางเท้าของคนเดินเท้าและคนพิการอีกด้วย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จึงมีแนวคิดที่จะนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารฝังใต้ดิน เพื่อปรับภูมิทัศน์ของเมืองให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และปลอดภัย รวมถึงต้องการนำเสาไฟฟ้าออก เพื่อให้คนเดินเท้าและคนพิการสามารถใช้งานได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มขนาดทางเท้า โดยไม่จำเป็นต้องลดขนาดถนนนั่นเอง

สยามสแควร์ โฉมใหม่ “ไร้สาย” กับโครงการนำสายสื่อสารและสายไฟลงใต้ดิน ย่านการค้าใจกลางเมืองกับทัศนียภาพที่สวยงาม พร้อมความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ด้วยความร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง และพันธมิตรด้านโทรคมนาคม

 

ภาพแผนที่งานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าด้วยสายใต้ดินในพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้

 

ภาพงานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าด้วยสายใต้ดินในพื้นที่สามย่านสมาร์ซิตี้ พร้อมภาพประกอบ