smart
Environment

เมื่อก้าวเข้ามาในย่านจุฬา สวนหลวง-สามย่าน จะสัมผัสได้ถึงพื้นที่สีเขียวภายในย่านที่มีขนาดใหญ่และจะขยายขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรามีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้เป็น “GREEN & CLEAN CITY” โดยมีหลากหลายนโยบายที่จะช่วยพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมรอบด้านอย่างยั่งยืน โดยการเพิ่มสัดส่วนของพื้นที่สีเขียว และเพิ่มจำนวนต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ (Big Tree) ในพื้นที่ให้มีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมถึงการนำร่องพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ ที่นำน้ำเสียจากอาคารที่อยู่อาศัยกลับมาบำบัดและนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ภายในสวนอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ อีกด้วย

Image
ก.
ของการลดขยะ สู่การฝังกลบ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Image
ลบ.ม. / ปี
คืนชีวิตให้น้ำ
Image
ตร.ม.
พื้นที่สีเขียว
Image
สถานที่
จุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ
Image
ต้น
ที่ดูดซับ CO2

เราเชื่อว่าการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมืองในปัจจุบัน คือการได้ใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว จึงมีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับทุกคนในชุมชน ให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ และต้องการสร้างอากาศบริสุทธิ์ โดยมีการเพิ่มสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจากสถิติในปี 2563 พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ และพื้นที่โดยรอบของย่าน มีพื้นที่สีเขียวในอัตราส่วน 1 คน ต่อ 19.8 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ WHO ที่กำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวในอัตรา 1 คน ต่อ 9 ตร.ม. นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มจำนวนต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ (BIG TREE) ในพื้นที่ ให้มีมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2563 พื้นที่จุฬาฯ มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากกว่า 10,000 ต้น และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราได้เล็งเห็นความสำคัญต่อระบบนิเวศของต้นไม้ใหญ่ ซึ่งนอกจากจะให้ร่มเงาแก่พื้นที่ได้มากแล้ว ต้นไม้ใหญ่ยังสามารถที่จะเก็บกักคาร์บอนได้ในปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับต้นไม้ขนาดเล็ก จึงมีส่วนช่วยในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและลดโลกร้อนได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกที่เมื่อก้าวเข้ามาในพื้นที่ภายในย่านของจุฬาฯ แล้วรู้สึกได้ถึงพื้นที่สีเขียวอันร่มรื่น

สวนสาธารณะของย่านที่โดดเด่นเป็นเสมือนแลนมาร์คแห่งพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองอีกแห่งคือ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ บนพื้นที่สีเขียว กว่า 29 ไร่ เป็นพื้นที่สีเขียวที่สร้างเป็นของขวัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ได้เข้ามาสูดอากาศบริสุทธิ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และยังสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรรมด้านกีฬา ดนตรี และศิลปวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ มากมายตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีคุณค่าแก่คนในชุมชนอย่างหลากหลายอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีสวน PARK @ SIAM ซึ่งเป็นสวนขนาดย่อม 5.2 ไร่ ที่ตั้งอยู่ใจกลางแหล่งช้อปปิ้งสยามสแควร์ เป็นอีกหนึ่งปอดกลางเมืองอันเขียวขจี ที่สามารถเดินทางเข้าถึงได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบขนส่งสาธารณะ ตอบโจทย์ทุกการพักผ่อนของคนเมืองได้อย่างแท้จริง

  • Green Area (คนต่อพื้นที่สีเขียว) 1(*person / sqm) (มาตรฐาน WHO 1:9)
  • Big Tree > 10,000 Trees

 

ในยุคที่เราต้องเผชิญกับภาวะอากาศเป็นพิษจากฝุ่นควันต่าง ๆ การใส่ใจในคุณภาพของอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขั้นพื้นฐานแก่ทุกคนในชุมชน เราจึงมีนโยบายต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการสร้างอากาศที่ดีหลากหลายโครงการ โดยหนึ่งในนั้นคือนโยบายส่งเสริมการใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในพื้นที่ โดยปรับเปลี่ยนรถที่ให้บริการสาธารณะเป็นรถพลังงานไฟฟ้า เช่น รถบัสไฟฟ้า รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น มีการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลายขึ้น อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ภายในย่าน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางภายในพื้นที่แก่คนในชุมชน และทำให้สามารถช่วยลดอัตราการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในพื้นที่ได้ เราจึงได้เห็นภาพนิสิตและคนในชุมชนปั่นจักรยาน นั่งรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ที่มีให้บริการอย่างทั่วถึงง่าย ๆ ด้วยการใช้งานผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือสนุกกับการขี่สกู้ตเตอร์ไฟฟ้าไปยังอาคารต่าง ๆ อย่างมีสไตล์

นอกจากนี้ปัญหาสภาวะบรรยากาศกรุงเทพมหานครที่ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นพิษเข้าสู่สภาวะวิกฤติด้วยค่า PM2.5 เกินมาตรฐานโลก ซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในประเทศไทยกำหนดไว้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ช่วยวัดปริมาณฝุ่นในอากาศ ด้วยประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง และประเมินผลสภาวะฝุ่นพิษอย่างแม่นยำ รวมทั้งประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิ์ภาพทั่วทั้งบริเวณสามย่านสมาร์ทซิตี้ นอกจากคนในชุมชนจะสามารถทราบค่าคุณภาพอากาศผ่านเว็บไซต์แล้ว ยังมีการแจ้งเตือนผ่าน smart pole อีกด้วย

  • ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในพื้นที่
  • ส่งเสริมการใช้รถ EV เพื่อลดมลพิษทางอากาศ
  • EV Charging Station 87  หัวชาร์จ
  • Swapping Battery For E-Bike 4 Stations
  • Air quality sensors >50 เครื่องทั่วพื้นที่

การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่จะช่วยทำให้มีการหมุนเวียนของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด ทั้งต่อองค์กร ต่อคนในชุมชน ที่สำคัญคือต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา ดังนั้นเราจึงมีแผนการพัฒนาการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ โดยนำร่องในด้านการจัดการขยะและการจัดการน้ำ

 

ขยะใครว่าไม่มีค่า

เราสามารถสร้างมูลค่าให้ขยะที่คนอาจจะมองว่าไร้ค่า ด้วยระบบบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนผ่านหลัก “3R”

REDUCE – ลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง
REUSE – นำมาใช้ซ้ำ
RECYCLE – แปรสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่

โดยขยะที่เรานำกลับมาบริหารจัดการมีทั้งขยะในรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ กระดาษ ถุงพลาสติกอ่อน ไปจนถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ขยะอาหารที่ผ่านการปรุงสุกนำไปเป็นอาหารสัตว์ และอาหารที่ยังไม่ได้ผ่านการปรุงนำไปเข้ากระบวนการ ผ่านเครื่อง BIO-DIGESTOR เพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับใส่ต้นไม้ต่อไป ขยะรีไซเคิลถูกนำกลับไปเข้ากระบวนการแปรสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น และคาดว่าในปี 2565 จะสามารถนำขยะจากอาหาร กลับมาใช้ประโยชน์ได้ถึง 80% นับเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างเมืองที่สะอาดและน่าอยู่ต่อไปในอนาคต

  • Food Waste นำกลับมาใช้ประโยชน์ 80%
  • Scraps นำกลับมาใช้ประโยชน์ 100%
  • General Waste ขยะไปฝังกลบลดลง 20%

http://www.chulazerowaste.chula.ac.th/

 

การนำร่องพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำโดย PMCU มีนโยบายที่จะดำเนินการนำน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากการอุปโภคบริโภค มาบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายในบริเวณพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ได้มีความต้องการน้ำที่มีคุณภาพระดับน้ำบริโภค ซึ่งปัจจุบัน PMCU ใช้น้ำประปาในการเติมน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำในสระและรดน้ำต้นไม้สำหรับอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ดังนั้น จึงได้เริ่มดำเนินการนำน้ำเสียจากการใช้น้ำของผู้ที่อาศัยภายในอาคาร CU TERRACE และ CU iHOUSE กลับมาผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย และนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ภายในสวนอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้น้ำใหม่ได้ถึงปีละ 55 ล้านลิตร และสามารถประหยัดค่าน้ำได้ปีละประมาณ 150,000 บาท อีกทั้งยังช่วยให้ต้นไม้และพืชพรรณนานาชนิดได้เติบโตเป็นปอดของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

  • (Water Recycling) 163,000 m3 / year